กุ้ง สายP กับ กุ้ง สายC หมายถึง
เครฟิช(Crayfish)
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษใช้เรียกกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่งมีรูปร่างโดยรวมลำตัวใหญ่ เปลือก
หนาก้ามใหญ่แลดูแข็งแรงมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ,ทวีปยุโรป, โอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียง
เช่นอีเรียน จายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครฟิชไปแล้วกว่า 500 ชนิดซึ่งกว่าครึ่ง
นั้นมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือแต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธานอีกทั้งหลาย
ชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย(variety)สำหรับในประเทศไทยไม่มีกุ้งในลักษณะเครฟิช
ซึ่งกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่สุดที่พบในประเทศไทยคือ กุ้งก้ามกราม(Macrobrachium rosenbergii)
ซึ่งในลักษณะกุ้งก้ามกรามนี้ ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า prawn
เครฟิชนั้นสามาถแบ่งออกได้เป็น 2วงศ์ใหญ่ๆดังนี้
กลุ่มวงศ์ที่ 1 Astacoidea (หรือที่นิยมเรียกกันว่า กุ้งสาย P ) ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 2 วงศ์คือ Astacidae และ Cambaridae โดยในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือมีการค้นพบเครฟิชมากกว่า 330 ชนิด ใน 9 สกุล ทั้งหมดอยู่ในวงศ์ Cambaridae ส่วนวงศ์ Astacidae พบในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ เครฟิชจำนวนมากพบในที่ราบต่ำที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและออกซิเจนที่ผุดออกมาจากน้ำพุใต้ดิน เครฟิชชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงศ์นี้คือ Procambarus clarkii โดยรวมแล้วเครฟิชในวงศ์นี้ มีรูปร่างใหญ่ ไม่มีกรี มีลักษณะเด่นคือ ก้ามมีหนาม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร
กุ้งแดง Procambarus Clarkii sp. red
พีช Procambarus Clarkii
กลุ่มวงศ์ที่ 2 Parastacoidea (หรือที่นิยมเรียกกันว่า กุ้งสาย C )ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคโอเชียเนียและอีเรียน จายามีการค้นพบเครฟิชมากกว่า 100 ชนิดในภูมิภาคนี้ เครฟิชที่เป็นที่รู้จักได้แก่สกุล Cherax หรือในบ้านเรานิยมเรียกว่ากุ้งสาย C ได้แก่ Cherax tenuimanus, Cherax quadricarinatus, Cherax destructor, Cherax preissii ฯลฯ เครฟิชในวงศ์นี้ก้ามจะไม่มีหนาม และลักษณะของก้ามจะป่องออกต่างไปจากวงศ์Astacoideaแต่มีที่หนีบสั้นและเล็กกว่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร
Yabby
Blue Pearl
กุ้งม้าลาย Cherax peknyi (Zebra Crayfish)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น