วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

การจำแนกเครฟิชสาย C หรือกุ้งก้ามแดง ( ออสเตรเลีย )

การจำแนกเครฟิชสาย C หรือกุ้งก้ามแดง ( ออสเตรเลีย )





1. ชื่อที่เรียกกัน :กุ้งเรนโบว์(ไทย) หรือ Redclaw Clayfish(สามัญ) ชื่อวิทยาศาสตร์: Cherax quadricarinatus' เป็นกุ้งสายพันธุ์แรกที่นำเข้ามาในไทย

รูปร่าง
ตัว ผู้ที่โตแล้วจะมีสีแดงที่ก้ามด้านนอกทั้ง 2 ข้าง มันจึงได้ชื่อว่า Red claw กุ้งเรนโบว์ส่วนมากจะมีสีฟ้ามอมเขียว อย่างไรก็ตามสีของตัวกุ้งเองก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย(กุ้งที่พบใน ธรรมชาติ) มีน้ำหนักในส่วนหางเป็น 25% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด กุ้งที่หนักที่สุดที่ถูกค้นพบมีน้ำหนักราวๆครึ่งกิโลกรัม ซึ่งกุ้งส่วนมากที่วางขายอยู่จกมีน้ำหนักประมาณ 50-100 กรัม
การขยายพันธ์
การ สืบพันธ์ของตัวกุ้งจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ เมื่ออยู่ในช่วงจับคู่ ตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปที่ด้านล่างลำตัวของตัวเมียบริเวณรยางค์ขา กุ้งตัวเมียจะออกไข่ภายใน 24 ชั่วโมง ไข่จะติดอยู่กับรยางค์ว่ายน้ำบริเวณใต้หาง ตัวเมียจะสลัดไข่ทิ้งหากโดนรบกวนภายใน 48 ชม. หลังจากออกไข่ จำนวนของไข่ใน 1 ครอกขึ้นอยู่กับขนาดของตัวเมีย ซึ่งจะอยู่ที่ราวๆ 200-1,000 ฟอง ที่อุณหภูมิ 24-27 องศา ไข่จะฟักตัวภายใน 10 อาทิตย์ ลูกกุ้งที่เกิดใหม่จะพร้อมผสมพันธ์เมื่ออายุ 12 เดือน
อาหารการกิน
กุ้ง เรนโบว์เป็นพวกกินทั้งเนื้อและพืช ทั้งของสดและของเน่า ลูกกุ้งเป็นนักล่ามือฉมัง ซึ่งจะจับพวกวสิ่งมีชีวิตเล็กๆ กินเป็นอาหาร หากอาหารไม่เพียงพอกุ้งอาจกินกันเองได้ ขอแนะนำให้ใช้อาหารที่ผลิตขึ้นมาเลี้ยงกุ้งโดยเฉพาะ ซึ่งควรมีโปรตีนอย่างต่ำ 15% และมีเนื้อปลาผสมอยู่
การเจริญเติบโต
กุ้งจะมีน้ำหนักประมาณ 70-80 กรัมเมื่อครบ 1 ปี
การคัดเลือก
พ่อ พันธุ์แม่พันธุ์ ควรเลือกตัวที่เจริญเติบโตเร็วที่สุดในรุ่น และหลังจากทำการคัดเลือกพ่อพันธ์แม่พันธ์แล้วก็มาคัดเลือกส่วนที่จะนำมาขาย ส่วนที่เหลือจากขายซึ่งเป็นพวกที่แคระแกร็นหรือผิดปกติควรนำทิ้งไป
นิสัย
อาจ มีการฝังตัวเองบ้างในกุ้งบางตัว ชอบอาศัยตามพืชน้ำหรือวัสดุอื่นๆ กุ้งตัวเต็มวัยจะไม่ดุร้ายใส่กันเอง กุ้งที่เพิ่งลอกคราบอาจโดนกินได้
สภาพที่อยู่อาศัย
ลูก กุ้งจะอยู่รอดได้ที่อุณหภูมิมากกว่า 12-34 องศาเซลเซียส ซึ่งในกุ้งที่โตแล้วอาจทนกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้มากกว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตคือ 23-30 องศาเซลเซียส ในกุ้งที่โตแล้วอาจทนความเค็มของน้ำได้ถึง 20 ppt (ในธรรมชาติ) ส่วนกุ้งที่นำมาเลี้ยงในตู้ไม่ควรมีความเค็มเกิน 5 ppt มีค่า pH ที่ 7–8.5 กุ้งเรนโบว์ชอบความมืด ซึ่งสามารถทำได้โดยใส่วัสดุสำหรับหลบซ่อนลงไป
สุขภาพและโรค
การติดปรสิตภายนอก(ปรากฏในรูปของเส้นขน) จะเกิดขึ้นในสัตว์ที่มีความเครียด และอยู่น้ำคุณภาพต่ำ โรคหางขาวเป็นโรคที่พบได้เช่นกัน




2. เดสทรัคเตอร์ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cherax destructor  ถือได้ว่าเป็นราชาแห่งวงการกุ้งเครฟิชเลยครับ
แหล่งกำเนิด : Western Australia
ขนาด : 20-30 ซ.ม. (6 นิ้ว)
อุณหภูมิน้ำ : 16-22° C
ค่า pH : 6.5-7.5
อุปนิสัย : ดุและก้าวร้าว
ระดับความยากในการเลี้ยง : ปานกลาง
Cherax destructor หรือ เดสทรัคเตอร์ที่เรารู้จักกัน
ลักษณะร่างกายดูบึกบึน ก้ามใหญ่ อ้วน ฮ่าๆ การเลี้ยงนิยมเลี้ยงแยก เพราะมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว การเลี้ยงแยก ยังทำให้กุ้งของท่านสวยไม่มีที่ติอีกด้วย สิ่งสำคัญสำหรับสายพันธ์ุนี้ คือ การควบคุมอาหาร เพราะกุ้งสายพันนี้สีมันเปลี่ยนได้ตามอาหารที่ให้กิน ถ้าอยากให้สีมันไม่เปลี่ยน ต้องให้แต่อาหารเดิมๆให้กินตลอด เพราะถ้าเปลี่ยนไปให้อย่างอื่น สีมันจะเปลี่ยน
สูตรทำสีต่างๆของเจ้ากุ้งเดสทรัคเตอร์
สีน้ำเงิน = กินกุ้งฝอยต้ม
สีน้ำตาล = กินสาหร่าย
สีดำ = กินตะใคร่น้ำ
สีขาว = กินอาหารเม็ดสูตรเนื้อปลา/อาหารสำหรับเดสขาว/อาหารกุ้งกุลาดำ


3. อบิดัส หรือ (บลูเพิร์ล) เปรียบเทียบก็คือสายP เป็นกุ้งนำเข้า คือราชินีแห่งเครฟิชเมืองไทย บลูเพิร์ล จะอยู่ในเหล่าเดียวกับ เดสทัคเตอร์ แตกต่างกันก็คือรูปทรงของก้าม แต่สีก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน กุ้งชนิดนี้ยังไม่มีการเพราะพันธุ์ในไทย จึงมีราคาสูง และเริ่มหายหน้าหายตาไปในวงการกุ้งเครฟิชบ้านเราครับ (กุ้งชนิดจะมีแค่สีน้ำเงิน-และฟ้า จะเปลี่เป็นสีอื่นไม่ได้)  

สำหรับเกษตรกรที่สนใจ เลี้ยงกุ้งก้ามใหญ่ หรือ กุ้งเครฟิช สามารถติดต่อได้ที่
สิงห์บุรี กุ้งก้ามแดง - เครฟิช อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
โทร 086-811 5911 , ID/LINE 0868115911 คุณ อิท



6 ความคิดเห็น: