วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

กุ้ง สายP กับ กุ้ง สายC หมายถึง

กุ้ง สายP กับ กุ้ง สายC หมายถึง


เครฟิช(Crayfish)
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษใช้เรียกกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่งมีรูปร่างโดยรวมลำตัวใหญ่ เปลือก
หนาก้ามใหญ่แลดูแข็งแรงมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ,ทวีปยุโรป, โอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียง
เช่นอีเรียน จายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครฟิชไปแล้วกว่า 500 ชนิดซึ่งกว่าครึ่ง
นั้นมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือแต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธานอีกทั้งหลาย
ชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย(variety)สำหรับในประเทศไทยไม่มีกุ้งในลักษณะเครฟิช
ซึ่งกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่สุดที่พบในประเทศไทยคือ กุ้งก้ามกราม(Macrobrachium rosenbergii)
ซึ่งในลักษณะกุ้งก้ามกรามนี้ ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า prawn

เครฟิชนั้นสามาถแบ่งออกได้เป็น 2วงศ์ใหญ่ๆดังนี้

กลุ่มวงศ์ที่ 1 Astacoidea  (หรือที่นิยมเรียกกันว่า กุ้งสาย P ) ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 2 วงศ์คือ Astacidae และ Cambaridae โดยในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือมีการค้นพบเครฟิชมากกว่า 330 ชนิด ใน 9 สกุล ทั้งหมดอยู่ในวงศ์ Cambaridae ส่วนวงศ์ Astacidae พบในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ เครฟิชจำนวนมากพบในที่ราบต่ำที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและออกซิเจนที่ผุดออกมาจากน้ำพุใต้ดิน
เครฟิชชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงศ์นี้คือ Procambarus clarkii โดยรวมแล้วเครฟิชในวงศ์นี้ มีรูปร่างใหญ่ ไม่มีกรี มีลักษณะเด่นคือ ก้ามมีหนาม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร





                                            
กุ้งแดง Procambarus Clarkii sp. red

พีช Procambarus Clarkii







กลุ่มวงศ์ที่ 2 Parastacoidea (หรือที่นิยมเรียกกันว่า กุ้งสาย C )ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคโอเชียเนียและอีเรียน จายามีการค้นพบเครฟิชมากกว่า 100 ชนิดในภูมิภาคนี้ เครฟิชที่เป็นที่รู้จักได้แก่สกุล Cherax หรือในบ้านเรานิยมเรียกว่ากุ้งสาย C ได้แก่ Cherax tenuimanus, Cherax quadricarinatus, Cherax destructor, Cherax preissii ฯลฯ เครฟิชในวงศ์นี้ก้ามจะไม่มีหนาม และลักษณะของก้ามจะป่องออกต่างไปจากวงศ์Astacoideaแต่มีที่หนีบสั้นและเล็กกว่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร






Yabby

Blue Pearl









 กุ้งม้าลาย Cherax peknyi (Zebra Crayfish)


สำหรับเกษตรกรที่สนใจ เลี้ยงกุ้งก้ามใหญ่ หรือ กุ้งเครฟิช สามารถติดต่อได้ที่

สิงห์บุรี กุ้งก้ามแดง - เครฟิช อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
โทร 086-811 5911 , ID/LINE 0868115911 คุณ อิท

การจำแนกเครฟิชสาย C หรือกุ้งก้ามแดง ( ออสเตรเลีย )

การจำแนกเครฟิชสาย C หรือกุ้งก้ามแดง ( ออสเตรเลีย )





1. ชื่อที่เรียกกัน :กุ้งเรนโบว์(ไทย) หรือ Redclaw Clayfish(สามัญ) ชื่อวิทยาศาสตร์: Cherax quadricarinatus' เป็นกุ้งสายพันธุ์แรกที่นำเข้ามาในไทย

รูปร่าง
ตัว ผู้ที่โตแล้วจะมีสีแดงที่ก้ามด้านนอกทั้ง 2 ข้าง มันจึงได้ชื่อว่า Red claw กุ้งเรนโบว์ส่วนมากจะมีสีฟ้ามอมเขียว อย่างไรก็ตามสีของตัวกุ้งเองก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย(กุ้งที่พบใน ธรรมชาติ) มีน้ำหนักในส่วนหางเป็น 25% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด กุ้งที่หนักที่สุดที่ถูกค้นพบมีน้ำหนักราวๆครึ่งกิโลกรัม ซึ่งกุ้งส่วนมากที่วางขายอยู่จกมีน้ำหนักประมาณ 50-100 กรัม
การขยายพันธ์
การ สืบพันธ์ของตัวกุ้งจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ เมื่ออยู่ในช่วงจับคู่ ตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปที่ด้านล่างลำตัวของตัวเมียบริเวณรยางค์ขา กุ้งตัวเมียจะออกไข่ภายใน 24 ชั่วโมง ไข่จะติดอยู่กับรยางค์ว่ายน้ำบริเวณใต้หาง ตัวเมียจะสลัดไข่ทิ้งหากโดนรบกวนภายใน 48 ชม. หลังจากออกไข่ จำนวนของไข่ใน 1 ครอกขึ้นอยู่กับขนาดของตัวเมีย ซึ่งจะอยู่ที่ราวๆ 200-1,000 ฟอง ที่อุณหภูมิ 24-27 องศา ไข่จะฟักตัวภายใน 10 อาทิตย์ ลูกกุ้งที่เกิดใหม่จะพร้อมผสมพันธ์เมื่ออายุ 12 เดือน
อาหารการกิน
กุ้ง เรนโบว์เป็นพวกกินทั้งเนื้อและพืช ทั้งของสดและของเน่า ลูกกุ้งเป็นนักล่ามือฉมัง ซึ่งจะจับพวกวสิ่งมีชีวิตเล็กๆ กินเป็นอาหาร หากอาหารไม่เพียงพอกุ้งอาจกินกันเองได้ ขอแนะนำให้ใช้อาหารที่ผลิตขึ้นมาเลี้ยงกุ้งโดยเฉพาะ ซึ่งควรมีโปรตีนอย่างต่ำ 15% และมีเนื้อปลาผสมอยู่
การเจริญเติบโต
กุ้งจะมีน้ำหนักประมาณ 70-80 กรัมเมื่อครบ 1 ปี
การคัดเลือก
พ่อ พันธุ์แม่พันธุ์ ควรเลือกตัวที่เจริญเติบโตเร็วที่สุดในรุ่น และหลังจากทำการคัดเลือกพ่อพันธ์แม่พันธ์แล้วก็มาคัดเลือกส่วนที่จะนำมาขาย ส่วนที่เหลือจากขายซึ่งเป็นพวกที่แคระแกร็นหรือผิดปกติควรนำทิ้งไป
นิสัย
อาจ มีการฝังตัวเองบ้างในกุ้งบางตัว ชอบอาศัยตามพืชน้ำหรือวัสดุอื่นๆ กุ้งตัวเต็มวัยจะไม่ดุร้ายใส่กันเอง กุ้งที่เพิ่งลอกคราบอาจโดนกินได้
สภาพที่อยู่อาศัย
ลูก กุ้งจะอยู่รอดได้ที่อุณหภูมิมากกว่า 12-34 องศาเซลเซียส ซึ่งในกุ้งที่โตแล้วอาจทนกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้มากกว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตคือ 23-30 องศาเซลเซียส ในกุ้งที่โตแล้วอาจทนความเค็มของน้ำได้ถึง 20 ppt (ในธรรมชาติ) ส่วนกุ้งที่นำมาเลี้ยงในตู้ไม่ควรมีความเค็มเกิน 5 ppt มีค่า pH ที่ 7–8.5 กุ้งเรนโบว์ชอบความมืด ซึ่งสามารถทำได้โดยใส่วัสดุสำหรับหลบซ่อนลงไป
สุขภาพและโรค
การติดปรสิตภายนอก(ปรากฏในรูปของเส้นขน) จะเกิดขึ้นในสัตว์ที่มีความเครียด และอยู่น้ำคุณภาพต่ำ โรคหางขาวเป็นโรคที่พบได้เช่นกัน




2. เดสทรัคเตอร์ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cherax destructor  ถือได้ว่าเป็นราชาแห่งวงการกุ้งเครฟิชเลยครับ
แหล่งกำเนิด : Western Australia
ขนาด : 20-30 ซ.ม. (6 นิ้ว)
อุณหภูมิน้ำ : 16-22° C
ค่า pH : 6.5-7.5
อุปนิสัย : ดุและก้าวร้าว
ระดับความยากในการเลี้ยง : ปานกลาง
Cherax destructor หรือ เดสทรัคเตอร์ที่เรารู้จักกัน
ลักษณะร่างกายดูบึกบึน ก้ามใหญ่ อ้วน ฮ่าๆ การเลี้ยงนิยมเลี้ยงแยก เพราะมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว การเลี้ยงแยก ยังทำให้กุ้งของท่านสวยไม่มีที่ติอีกด้วย สิ่งสำคัญสำหรับสายพันธ์ุนี้ คือ การควบคุมอาหาร เพราะกุ้งสายพันนี้สีมันเปลี่ยนได้ตามอาหารที่ให้กิน ถ้าอยากให้สีมันไม่เปลี่ยน ต้องให้แต่อาหารเดิมๆให้กินตลอด เพราะถ้าเปลี่ยนไปให้อย่างอื่น สีมันจะเปลี่ยน
สูตรทำสีต่างๆของเจ้ากุ้งเดสทรัคเตอร์
สีน้ำเงิน = กินกุ้งฝอยต้ม
สีน้ำตาล = กินสาหร่าย
สีดำ = กินตะใคร่น้ำ
สีขาว = กินอาหารเม็ดสูตรเนื้อปลา/อาหารสำหรับเดสขาว/อาหารกุ้งกุลาดำ


3. อบิดัส หรือ (บลูเพิร์ล) เปรียบเทียบก็คือสายP เป็นกุ้งนำเข้า คือราชินีแห่งเครฟิชเมืองไทย บลูเพิร์ล จะอยู่ในเหล่าเดียวกับ เดสทัคเตอร์ แตกต่างกันก็คือรูปทรงของก้าม แต่สีก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน กุ้งชนิดนี้ยังไม่มีการเพราะพันธุ์ในไทย จึงมีราคาสูง และเริ่มหายหน้าหายตาไปในวงการกุ้งเครฟิชบ้านเราครับ (กุ้งชนิดจะมีแค่สีน้ำเงิน-และฟ้า จะเปลี่เป็นสีอื่นไม่ได้)  

สำหรับเกษตรกรที่สนใจ เลี้ยงกุ้งก้ามใหญ่ หรือ กุ้งเครฟิช สามารถติดต่อได้ที่
สิงห์บุรี กุ้งก้ามแดง - เครฟิช อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
โทร 086-811 5911 , ID/LINE 0868115911 คุณ อิท



วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ กุ้งก้ามแดง คุณภาพ แข็งแรง โตไว


พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ กุ้งก้ามแดง

คุณภาพ แข็งแรง โตไว
กุ้งก้ามแดง เป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีอนาคตไกลและน่าจับตาในปัจจุบัน เนื่องจากมันเป็นกุ้งที่มีรสชาติ คล้ายกับกุ้งล๊อบสเตอร์ ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ทะเลที่อร่อยแต่มีราคาสูง เป็นอาหารระดับภัตตาคาร ค่อนข้างหายาก ส่วนมากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่กุ้งก้ามแดงที่มีคุณภาพและรสชาติของเนื้อที่ใกล้เคียงกันนี้ สามารถเพาะพันธุ์ได้ภายในประเทศไทยของเราและมันยังเป็นกุ้งสายพันธุ์ที่อยู่อาศัยอยู่ในน้ำจืด และเติบโตได้ดีในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 25 -28 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเหมาะสมกับบ้านเรา ทำให้เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถเพาะเลี้ยงได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งเราสามารถหาซื้อ ลูกกุ้งก้ามแดง จากฟาร์มเพาะพันธุ์ได้ ซึ่งก็ต้องเลือกแหล่งซื้อที่มีมาตรฐานเพื่อให้ได้ลูกกุ้งก้ามแดงที่มี คุณภาพ แข็งแรง โตไว คุ้มค่ากับการเลี้ยงการลงทุน
กุ้งก้ามแดงเลี้ยงได้ง่ายในบ่อธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงในนาข้าว เนื่องจากมันมีความอดทน ปรับตัวเก่ง และมีโรคน้อย ทำให้เกษตรกรไม่ยุ่งยากในการดูแล ไม่ต้องติดตั้งปั้มเพื่อสร้างซิเจนในน้ำ หรือใช้ยามากเป็นพิเศษ เนื้อกุ้งที่ได้จึงเป็นเนื้อกุ้งธรรมชาติ ที่ผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพมีความต้องการ
และหากถามว่าใช้นานหรือไม่ในการเลี้ยง กว่าจะสามารถจับขายได้ ก็ต้องขอบอกว่า เป็นกุ้งโตไวมาก ใช้ระยะเวลาเลี้ยงตั้งแต่ซื้อลูกกุ้งมาลงบ่อหรือนา เพียง 4 เดือนก็สามารถจับขายได้แล้ว โดยกุ้งก้ามแดงอายุ 4 เดือน จะมีขนาดประมาณ 20 ตัว ต่อกิโลกรัม ขายได้ราคาประมาณ 400 บาท (ต่อกิโลกรัม) หรือหากเลี้ยงต่อไปถึง 12 เดือน ก็จะได้กุ้งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 10 ตัว ต่อ กิโลกรัม ขายได้ราคาประมาณ 500 บาท
นอกจากนี้เกษตรกรยังมีทางเลือกในการเพาะเลี้ยงด้วยตนเองด้วยการ ซื้อ พ่อแม่พันธุ์มาเพาะเลี้ยงเองได้ด้วย และที่น่าสนใจก็คือ กุ้งชนิดนี้แพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ได้ง่าย พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่เหมาะสมในการนำมาเพาะให้สมพันธุ์ก็ควรจะมีขนาดความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3 นิ้ว ขึ้นไป (แล้วแต่ชนิดและสายพันธุ์ด้วย) หลังจากผสมพันธุ์ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาติดไว้ที่ใต้หาง และใช้เวลาอีกประมาณ 30 วัน ลูกกุ้งก็จะฟักเป็นตัว
กุ้งก้ามแดงเพาะเลี้ยงง่าย และทานอาหารได้แทบทุกชนิด ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ หรือแม้แต่อาหารสำเร็จรูปแบบเม็ดจมน้ำ การให้อาหารไม่จำเป็นต้องให้บ่อย ประมาณ 3 วัน ต่อ ครั้งก็เพียงพอแล้ว การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเพื่อจำหน่ายจึงเป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกร เพียงแต่ต้องเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้นเพื่อให้ได้ ลูกกุ้งก้ามแดง หรือ พ่อแม่พันธุ์กุ้งก้ามแดงที่มี คุณภาพ แข็งแรง โตไว คุ้มค่าในการลงทุน

สำหรับเกษตรกรที่สนใจ เลี้ยงกุ้งก้ามใหญ่ หรือ กุ้งเครฟิช สามารถติดต่อได้ที่
สิงห์บุรี กุ้งก้ามแดง - เครฟิช อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
โทร 086-811 5911 , ID/LINE 0868115911 คุณ อิท




จำหน่าย กุ้งก้ามแดง - เครฟิช สิงห์บุรี

เทคนิคการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง กุ้งเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ตลาดต้องการ

333    777
กุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครฟิช มีถิ่นกำเนิดที่ ออสเตรเลีย ขนาดโตเต็มที่ 12 นิ้วอายุเฉลี่ย 4ปี ในธรรมชาติ ถ้าเลี้ยงใส่ตู้กระจก อยู่ได้ 2-3 ปี อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยง 25-28 องศา ถือว่า อากาศและอุณหูภูมิในบ้านเรา กำลังดี
กุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งชนิดแรกที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงทดลองเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร เพราะเป้นกุ้งที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วและมีขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นคือ มีขนาดใหญ่และสีของกุ้งมีการเปลี่ยนแปลงตลอด แต่สีที่พบมากที่สุดคือ สีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน ซึ่งคนไทยจะเรียกว่า บลู ล็อปเตอร์ บางที่ก็เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามแล้วนำจำหน่ายได้ในราคาสูง
444
กุ้งชนิดนี้มีจุดเด่นอีกอย่างคือ แถบข้างของก้ามจะมีสีแดง และ สีส้ม เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแถบสีเหล่านี้ จะพบกับกุ้งเพศผู้เท่านั้น ส่วนเพศเมียจะไม่มีแถบสี กุ้งชนิดนี้เลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ไวและภูมต้านทานโรคสูง ปัจจุบันเกษตรนำมาเลี้ยงเป็นกุ้งเนื้อ และเป็นที่ต้องการของตลาด
การเริ่มต้นเลี้ยงกุ้งก้ามแดง แบบเลี้ยงเพื่อเศรษฐกิจ จะต้องทำอย่างไรบ้าง
1. การเตรียมน้ำ ต้องเตรียมน้ำ ยกตัวอย่างเลี้ยงในตู้ 24 นิ้ว ใส่น้ำประมาณ 50 ลิตร เติมเกลือแกงไปประมาณ 2-4 ช้อนโต๊ะ เปิด ออกซเจนทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง ไม่ต้องใส่น้ำยาลดคลอรีน ก่อนนำกุ้งลงตู้ให้เอาถุงใส่กุ้งลอยน้ำทิ้งไว้ 15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิให้กับกุ้ง
** กรณีเลี้ยงบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก ใส่น้ำความสูง 30-40 เซนติเมตร เติมเกลือ อัตราน้ำ 1000 ลิตร ต่อ 1 กิโลกรัม ปั๊มออกซิเจน หรือใบพัดปั่นน้ำ ในบ่อทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง ค่อยนำกุ้งลง แล้วแต่ ขนาดของบ่อ **
666
2.ปรับอุณหภูมิการเลี้ยงไว้ที่ 20-30 องศาเซลเซียส
3.สังเกตการลอกราบของกุ้ง ซึ่งช่วงเวลานี้กุ้งจะบอบบางและอ่อนแอมาก จะสังเกตอย่างไร แบ่งออกเป็นข้อๆได้ตามนี้ครับ
- ปริมาณการกินอาหารน้อยลง
- รอยต่อของลำตัวจะเปิด
- จับดูที่เปลือกหัวจะนุ่มนิ่มแสดงว่าใกล้ลอกคราบ
- แต่ถ้าห้วเปิดแล้วตัวยังแข็งอยู่แสดงว่ายังไม่ลอกคราบ อาจจะเกิดจากการที่กุ้งกินอาหารมากเกินไป ทำให้เปลือกบริเวฯรอยต่อยกขึ้นเหมือนลอกคราบ
4. การถ่ายน้ำในกรณีเลี้ยงตู้ควรถ่ายทุกๆ 7-10 วัน ** ส่วนบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก สูบน้ำเก่าออกเติมน้ำใหม่เข้า ทุก 2 สัปดาห์ ** ไม่ควรเปลี่ยนน้ำทิ้งทั้งหมด จะทำให้กุ้ง น็อคน้ำได้
5.อาหาร สำหรับกุ้งชนิดนี้กินได้ทั้งพืชและสัตว์และอาหารเม็ด ยกตัวอย่างอาหารของกุ้งก้ามใหญ่ เช่น สาหร่ายหางกระรอก แครอท และพืชน้ำอื่นๆ ประเภทเนื้อสัตว์จะเป็นพวก กุ้งฝอยต้ม เนื้อปลาตัวเล็กๆ *หนอนแดง กรณีเลี้ยงในตู้หรือ บ่อพลาสติก*
6.การเพาะพันธุ์ กุ้งก้ามใหญ่ จะเริ่มผสมพันธุ์ที่ขนาดประมาณ 3 นิ้วขึ้นไป ( ขึ้นอยู่กับความสมบูรณื และสายพันธุ์ ) หลังจากผสมแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาใต้หาง และใช้เวลา 30 วันลูกจะเป็นตัวแล้วจะลงดิน อัตตราการผสม ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัว เมีย 3 ตัว
888
แนวทางการเลี้ยงแบบสวยงาม
กุ้งเครย์ฟิช สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ แต่หากเลี้ยงรวมกันหลายตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว เพราะกุ้งเครย์ฟิช มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว และหวงถิ่นที่อยู่ เมื่อมีเนื้อที่กว้างจะทำให้กุ้งแต่ละตัวสามารถสร้างอาณาเขตของตนเองได้ หากนำมาเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นจะพบว่า กุ้งเครย์ฟิช ขนาดเล็กมักถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดใหญ่กว่ากิน เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ควรใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ หรือท่อ พีวีซี ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชได้หลบอาศัยในเวลากลางวัน เพราะปกติช่วงกลางวันเป็นเวลาที่มันจะอยู่เงียบๆ แต่จะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า

1010
สำหรับการตกแต่งตู้เลี้ยง กุ้งเครย์ฟิชนั้น หากชอบให้ตู้โล่งก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ควรใส่ท่อพีวีซีลงไปด้วย เพื่อให้กุ้งได้ใช้ในการหลบซ่อนตัว แต่หากต้องการให้ตู้เลี้ยงมีความสวยงามก็สามารถใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่า กุ้งเครย์ฟิชมีนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวดเพื่อสร้างเป็นที่กำบังในเวลากลางวัน จึงทำให้ไม่เป็นเหมือนครั้งแรกที่แต่งไว้ ทั้งนี้ จึงควรจะปูกรวดให้หนา ไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชขุดกลบลำตัวได้ แต่ไม่ควรปูพื้นตู้ด้วยทราย เพราะมีความหนาแน่นสูง หากกุ้งเครย์ฟิชมุดลงไปแล้วอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้
ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั๊มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็สามารถทำได้หากเลี้ยงจำนวนน้อย แต่หากต้องการจะติดตั้งเครื่องปั๊มออกซิเจนก็ปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมเบาๆ ก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำ ควรใช้ชนิดกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มก็เพียงพอ แต่ไม่ควรใช้ชนิดกรองใต้ตู้ เพราะกุ้งเครย์ฟิชมักจะขุดกรวดขึ้นมา
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการ เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช คือ ประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 7.5-10.5 แต่หากน้ำมีความกระด้างสูง ก็สามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ นอกจากนี้ เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ แต่ทีละน้อย เพื่อป้องกันอุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน และน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด
กุ้งเครย์ฟิช สามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ หรือให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมก็ได้ เพื่อความสะดวก แต่ไม่ควรให้อาหารบ่อย 2-3 วัน ให้ครั้งหนึ่งก็พอ และควรให้น้อยๆ แต่พอดี เพื่อป้องกันการตกค้างของอาหาร ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลต่อการเกิดโรคได้ และควรให้อาหารในเวลากลางคืน เพราะตามธรรมชาติ กุ้งเครย์ฟิชเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินในเวลากลางคืน
สำหรับการเพาะพันธุ์กุ้งเครย์ฟิชนั้นไม่ยาก เพราะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย เพียงนำกุ้งเครย์ฟิชตัวผู้กับตัวเมียมาปล่อยรวมกัน แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย โดยสังเกตที่อวัยวะสืบพันธุ์ตรงช่วงขาเดิน กุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่สองและสาม ซึ่งตะขอนี้เอาไว้เกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์เป็นแผ่นทรงวงรีบริเวณขาเดินคู่ที่ 3
222888
กุ้งเครย์ฟิช ใช้เวลาผสมพันธุ์นานกว่า 10 นาที หลังจากนั้นสามารถย้ายกุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้ง หลังจากนั้น ตัวเมียจะทยอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุก มองคล้ายพวงองุ่น หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกิน อะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนเหมือนโตเต็มวัยภายใน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้น ลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้กุ้งได้มากถึง 300 ตัว ซึ่งพ่อแม่กุ้งไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้งเป็นอาหาร และลูกกุ้งก็จะอยู่ไม่ห่างพ่อแม่นัก เพื่อคอยเก็บเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่กินเป็นอาหารนั่นเอง
111
ตัวอ่อนของกุ้งเครย์ฟิช มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นหลัก สามารถให้ไส้เดือนฝอย ไรทะเล เป็นอาหารเสริมได้ แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำด้วย อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งจนเน่าเสีย ซึ่งควรให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง
ตู้อนุบาลตัวอ่อนควรมีพื้นที่ และวัสดุหลบซ่อน โดยเฉพาะกระถางต้นไม้ เพราะในช่วงเดือนแรก ลูกกุ้งจะลอกคราบบ่อย ทำให้ลำตัวอ่อนนิ่ม และมีเปอร์เซ็นต์ถูกกินเป็นอาหารมากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุประมาณ 1 เดือน จะเริ่มมีสีสันเหมือนตัวโตเต็มวัย
การลอกคราบเป็นขั้นตอนที่สำคัญใน การเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช เพราะแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตมากขึ้น ซึ่งลูกกุ้งจะลอกคราบเดือนละครั้ง โดยมีระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเจริญเติบโตขึ้น และเมื่อกุ้งเครย์ฟิชโตเต็มที่จะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวนิ่มและอ่อนแอมาก จึงต้องหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อนและค่อนข้างอยู่นิ่งๆ ประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ
SONY DSC
อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรรบกวน เพราะอาจทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบได้ หากกุ้งเครย์ฟิชตกใจอาจทำให้การลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ายังติดอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ อาทิ มีเปลือกสองชั้นทับกัน หรือก้ามบิดเบี้ยวผิดรูปได้
สำหรับเกษตรกรที่สนใจ เลี้ยงกุ้งก้ามใหญ่ หรือ กุ้งเครฟิช สามารถติดต่อได้ที่
สิงห์บุรี กุ้งก้ามแดง - เครฟิช อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
โทร 086-811 5911 , ID/LINE 0868115911 คุณ อิท